วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

การออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบ WEBQUEST (19 เมษายน 2557) ว่าที่ร้อยตรีหญิงดร.ชัชญาภา วัฒนธรรม



การใช้ Blog ในการเรียนการสอน

ขั้นนำ (Introduction)
       Blog เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่งที่เจ้าของ Blog สามารถนำเสนอสารสนเทศของตนเองลงใน Blog ได้ และผู้อ่านสามารถสามารถแสดงความคิดเห็นตอบกลับมาได้

      
วันนี้เราจะมี Blog เป็นของตนเอง นำเสนอสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ และแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ภาระงาน (Task)
       1. ให้ท่านสมัครเป็นสมาชิก Blog, ตกแต่ง Blog, และเชิญอาจารย์และเพื่อนๆ ในห้องมาร่วมเป็นสมาชิกกับ Blog ของท่าน

      
2. ให้ท่านนำเสนอสารสนเทศโดยศึกษาจากแหล่งเรียนรู้หลายๆ แหล่ง สังเคราะห์ข้อมูล และเขียนด้วยสำนวนของตนเองในประเด็นต่อไปนี้
          
2.1 Blog คืออะไร
          
2.2 เรามีหลักการเขียน Blog อย่างไรเพื่อพัฒนาการคิดของผู้เขียนและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน
          
2.3 เราจะประยุกต์ใช้ Blog เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้อย่างไร
          
ให้ท่านระบุแหล่งเรียนรู้ที่ท่านได้เข้าไปศึกษาทุกแหล่ง
กระบวนการเรียน (Learning Process) 
       1. ให้ท่านศึกษาเรื่อง Blog จากแหล่งเรียนรู้

      
2. ดำเนินการสมัครเป็นสมาชิก Blog ของ www.blogger.com
      
3. ตกแต่ง Blog ของท่านให้สวยงาม โดยดำเนินการตกแต่งและปรับเปลี่ยน 4 อย่างคือ
          
3.1 ชื่อ Site ของท่าน
          
3.2 คำกล่าวต้อนรับผู้เข้ามาชม Site ของท่าน
          
3.3 ใส่รูปภาพของท่านหรือรูปภาพอื่นที่แทนตัวท่าน
          
3.4 เปลี่ยน Theme
       4. เชิญ (Invite) เพื่อนๆ ในห้องมาเป็นสมาชิก Blog ของท่านให้มากที่สุด และเชิญ (Invite) อาจารย์โดยใช้อีเมล์คือ chatchayapha@gmail.com  (ตรงนี้สำคัญมากไม่เช่นนั้นอาจารย์จะไปตรวจงานของท่านไม่ได้)

      
5. เปลี่ยน Theme ให้แตกต่างจากเดิม
      
6. ศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ตามประเด็นที่กำหนดในภาระงานข้อ 2 นำข้อมูลดังกล่าวมาสังเคราะห์ แล้วเขียนสารสนเทศด้วยสำนวนของตนเองเพื่อนำเสนอ
      
7. ให้อ่านสารสนเทศของเพื่อนสมาชิกอย่างน้อย 3 คน พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นใน Blog ของเพื่อนสมาชิกดังกล่าว

แหล่งเรียนรู้ (Resource)
วิธีการทำบล็อก วิธีการสร้างบล็อก การเขียน blogger
  http://www.hackublog.com/2010/06/roadmap-blogger-blogspot.html
ประเมินผล (Evaluation)                                                         

 
คุณภาพสูง
คุณภาพปานกลาง
คุณภาพต่ำ
การตกแต่ง
ปรับเปลี่ยนครบทั้ง 4 อย่าง
ปรับเปลี่ยน 3 อย่าง
 
ปรับเปลี่ยนน้อยกว่า 3 อย่าง
สมาชิก Blog
มีสมาชิกจำนวนตั้งแต่ 50%
ขึ้นไป
มีจำนวนสมาชิกระหว่าง 30-49% ขึ้นไป
มีสมาชิกน้อยกว่า 30%
การนำเสนอสารสนเทศ
ถูกต้องตรงประเด็น ค้นคว้า
ข้อมูลตั้งแต่ 3 แหล่งขึ้นไป มีการสังเคราะห์ข้อมูล และเขียนด้วยสำนวนของตนเอง
ถูกต้องตรงประเด็น ค้นคว้า
ข้อมูลน้อยกว่า 3 แหล่ง มีการสังเคราะห์ข้อมูล และเขียน
ด้วยสำนวนของตนเอง
 
 
คัดลอกข้อความจากแหล่งเรียนรู้อื่น
  สรุป (Conclusion)
       จากการที่ท่านได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ Blog ท่านคงจะพบว่าเราสามารถใช้ Blog เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ช่วยประหยัดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่

ใบงานที่ 2 ออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์


    ให้ทุกคนออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์ คนละ 1 เรื่อง ตามขั้นตอนที่ระบุ
    ตัวอย่าง ขั้นตอนในการสร้างเว็บเควสท์
1. ขั้นนำ (Introduction)
    เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอนและให้ความรู้พื้นฐาน
2. ภาระงาน (Task)
    เป็นส่วนที่กำหนดว่าให้ผู้เรียนทำอะไร
3. กระบวนการเรียน (Learning Process)
   เป็นส่วนที่กำหนดให้ผู้เรียนกระทำตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อเข้าสู่วัตถุประสงค์ของงานหนึ่งๆ ที่มีคำอธิบายเป็นขั้นตอนตามลำดับ
4. แหล่งเรียนรู้ (Resource)
   เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้เรียนทำงานที่กำหนดสำเร็จสมบูรณ์ ซึ่งแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในเอกสารเดียวกัน อาจหมายถึงเอกสารบนเว็บต่างๆ หรือ URL ที่เกี่ยวข้อง e-Mail ของผู้ชำนาญการในเรื่องนั้นๆ ฐานข้อมูลที่สามารถเข้าสืบค้นได้บนเว็บ
   ตัวอย่าง เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)
   วิธีการทำบล็อกวิธีการสร้างบล็อก การเขียน blogger
  เว็บเควสท์สำนวนภาษาไทย
  บทเรียนเว็บเควสท์วิชาคอมพิวเตอร์ ม.2
  บทเรียนเว็บเควสท์ ASEAN
5. ประเมินผล (Evaluation)
    เป็นส่วนที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ (Scoring Rubric)
    ตัวอย่าง การสร้างเกณฑ์การประเมิน Rubric
 6. สรุป (Conclusion)
    เป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าได้รับรู้อะไร และสามารถช่วยทำให้ผู้เรียนขยายผลการเรียนรู้ของตนเองออกไป



การเตรียมสารละลายกรด เบส
ขั้นนำ  (Introduction) 
      การเตรียมสารละลาย หมายถึง การเตรียมสารละลายโดยนำตัวถูกละลายมาเติมตัวทำละลายให้ได้ปริมาตรและความเข้มข้นตามต้องการ และในการเตรียมต้องทราบ ความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย
      การเตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หากเตรียมความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานคลาดเคลื่อนจากที่ระบุ ผลการวัดค่าของตัวอย่างย่อมคลาดเคลื่อน ดังนั้นการเตรียมสารละลายมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องมีวิธีที่ชัดเจน ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ภาระงาน (Task)
   1.  ให้นักเรียนศึกษาเรื่องกรด  และเบส  (ความหมาย  ประโยชน์  ข้อดี  ข้อเสีย)  พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมสารละลายว่ามีอะไรบ้าง  แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งานอย่างไร  โดยจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม  (งานเดี่ยว)  ส่งภายในวันที่  20  พฤษภาคม  2557
   2.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  8  กลุ่ม  กลุ่มละ  3  คน  ทำการเตรียมสารละลายกรด  และเบส  โดยกลุ่มที่  1-4  เตรียมสารละลายกรด  กลุ่มที่  5-8  เตรียมสารละลายเบส  โดยให้แต่ละกลุ่มสรปผลการทดลองที่ได้  พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน  กลุ่มละ  5  นาที
กระบวนการเรียน (Learning Process)
   1.  ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเรื่องกรด  เบส  จากแหล่งเรียนรู้
   2.  จัดทำรายงานรูปเล่ม  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
        2.1  ความหมายของกรด  เบส
        2.2  ประโยชน์ของกรด  เบส  มีอะไรบ้าง  สามารถใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง
        2.3  อธิบายถึงดีข้อ  ข้อเสีย  ของกรด  เบส
        2.4  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมสารละลายมีอะไรบ้าง  ลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร
              กำหนดส่งภายในวันที่  20  พฤษภาคม  2557
   3.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  8  กลุ่ม  กลุ่มละ  3  คน  โดยกลุ่มที่  1-4  ทำการเตรียมสารละลายกรด  และกลุ่มที่  5-8  เตรียมสารละลายเบส
   4.  ศึกษาขั้นตอนการเตรียมสารละลายว่ามีขั้นตอนอย่างไรในการทดลอง
   5.  เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลอง
   6.  ทำลองทดลองตาม  ไดเรคชั่น แลป
   7.  เมื่อทำการทดลองเรียบร้อยให้แต่ละกลุ่มบันทึกผลการทดลองลงในกระดาษใบงาน
   8.  ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทดลอง  โดยใช้เวลาในการนำเสนอกลุ่มละประมาณ  5  นาที
แหล่งเรียนรู้ (Resource


กรด  เบส

ประโยชน์ของสารละลายกรด  เบส

ข้อดี  ข้อเสีย  ของกรด  เบส

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมสารละลาย



ขั้นตอนการเตรียมสารละลาย

ประเมินผล (Evaluation)
เกณฑ์การประเมินรูปเล่มรายงาน

วิชา............................รหัสวิชา................ระดับชั้น.................ภาคเรียนที่.........ปีการศึกษา..............




ที่


หัวข้อการประเมิน


ผลการประเมิน


รวม  (20  คะแนน)


5


4


3


2


1


 


1


รูปแบบรายงาน


 


 


 


 


 


 


2


ภาษา


 


 


 


 


 


 


3


เนื้อหา


 


 


 


 


 


 


4


เวลา


 


 


 


 


 


 


รวม


 


 


 


 


 


ระดับคุณภาพ 

คะแนน  16-20  หมายถึง  ดีมาก
คะแนน  11-15  หมายถึง  ดี
คะแนน  6-10  หมายถึง  พอใช้
คะแนน  1-5  หมายถึง  ปรับปรุง

รายละเอียดการให้คะแนนรูปเล่มรายงาน



ประเด็นการประเมิน


เกณฑ์การให้คะแนน


5


4


3


2


1


1. รูปแบบรายงาน


- รูปแบบรายงานถูกต้องตามที่กำหนด


- รูปแบบแปลกใหม่  น่าสนใจ


- มีขนาดเหมาะสม


- รูปภาพมีสีสันสวยงาม


- รูปภาพสัมพันธ์กับเนื้อหา


- รูปแบบแปลกใหม่  น่าสนใจ


- มีขนาดเหมาะสม


- รูปภาพมีสีสันสวยงาม


- รูปภาพสัมพันธ์กับเนื้อหา


- มีขนาดเหมาะสม


- รูปภาพมีสีสันสวยงาม


- รูปภาพสัมพันธ์กับเนื้อหา


- รูปภาพมีสีสันสวยงาม


- รูปภาพสัมพันธ์กับเนื้อหา


- รูปภาพสัมพันธ์กับเนื้อหา


2. ภาษา


- มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง


- ประโยคสอดคล้องกับเนื้อหา


- สะกดคำถูกต้อง


- มีการเว้นวรรคโดยไม่ฉีกคำ


- มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์


- ประโยคสอดคล้องกับเนื้อหา


- สะกดคำถูกต้อง


- มีการเว้นวรรคโดยไม่ฉีกคำ


- มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์


- สะกดคำถูกต้อง


- มีการเว้นวรรคโดยไม่ฉีกคำ


- มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์


- มีการเว้นวรรคโดยไม่ฉีกคำ


- มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์


- มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์


3. เนื้อหา


- เนื้อหาถูกต้อง


- เนื้อหาตรงตามหัวข้อเรื่อง


- เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด


- รายละเอียดครอบคลุม


- เนื้อหาสอดคล้อง


- เนื้อหาตรงตามหัวข้อเรื่อง


- เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด


- รายละเอียดครอบคลุม


- เนื้อหาสอดคล้อง


- เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด


- รายละเอียดครอบคลุม


- เนื้อหาสอดคล้อง


- รายละเอียดครอบคลุม


- เนื้อหาสอดคล้อง


- เนื้อหาสอดคล้อง


4. เวลา


ส่งชิ้นงานภายในเวลาที่กำหนด


ส่งชิ้นงานช้ากว่ากำหนด 1 วัน


ส่งชิ้นงานช้ากว่ากำหนด 2 วัน


ส่งชิ้นงานช้ากว่ากำหนด 3 วัน


ส่งชิ้นงานช้าเกินกว่ากำหนด 3 วัน ขึ้นไป

แบบประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่ม

วิชา................................รหัสวิชา................ระดับชั้น.................ภาคเรียนที่.........ปีการศึกษา..............              

ที่
หัวข้อการประเมิน
ผลการประเมิน
รวม  (20  คะแนน)
4
3
2
1
 
1
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
 
 
 
 
 
2
ขั้นตอนการทำงาน
 
 
 
 
 
3
เวลา
 
 
 
 
 
4
ความร่วมมือในการทำงาน
 
 
 
 
 
5
การนำเสนอ
 
 
 
 
 
รวม
 
 
 
 
 


ระดับคุณภาพ

คะแนน  16-20  หมายถึง  ดีมาก
คะแนน  11-15  หมายถึง  ดี
คะแนน  6-10  หมายถึง  พอใช้
คะแนน  1-5  หมายถึง  ปรับปรุง

รายละเอียดการให้คะแนนการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
มีผู้มีหน้าที่แต่ไม่รับผิดชอบ  1  คน
มีผู้มีหน้าที่แต่ไม่รับผิดชอบ  2  คน
มีผู้มีหน้าที่แต่ไม่รับผิดชอบ  2  คนขึ้นไป
2. ขั้นตอนการทำงาน
- คัดเลือกและเตรียมข้อมูลได้เหมาะสม
- มีการวางแผนการทำงาน
- มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์
- มีการปฏิบัติตามแผนและพัฒนางาน
ขาด  1  ขั้นตอนหรือไม่ชัดเจน
ขาด  2  ขั้นตอนหรือไม่ชัดเจน
ขาดมากกว่า  2  ขั้นตอนขึ้นไป
3. เวลา
เสร็จก่อนกำหนดและงานมีคุณภาพ
เสร็จงานตามกำหนดและงานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันกำหนดและงานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันกำหนดและงานไม่มีคุณภาพ
4. ความร่วมมือในการทำงาน
ทุกคนมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
80%  ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
60%  ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
40%  ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
5. การนำเสนอ
- มีบุคลิกลักษณะที่ดี
- ลักษณะของการนำเสนอเป็นขั้นตอน
- พูดชัดถ้อยชัดคำ
- สามารถตอบข้อซักถามได้
- ลักษณะของการนำเสนอเป็นขั้นตอน
- พูดชัดถ้อยชัดคำ
- สามารถตอบข้อซักถามได้
- พูดชัดถ้อยชัดคำ
- สามารถตอบข้อซักถามได้
- สามารถตอบข้อซักถามได้


สรุป (Conclusion)
        จากการที่ได้ให้นักเรียนทำการทดลองการเตรียมสารละลายกรด  เบส  พบว่า  นักเรียนสามารถค้นหาข้อมูล  วิธีหรือขั้นตอนในการเตรียมสาร  มีการเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่ม  ได้แลกเปลี่ยนทัศนะคติ  สามารถเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมสารละลายได้  ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนด้านสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น